เตรียมพร้อมอย่างไร ?
หากอยากอยู่บ้านในยามชรา

แนวคิดการชราในถิ่นที่อยู่เดิม (Aging in Place) นโยบายเพื่อการเตรียมพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและ บริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ

cover image

ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายที่รองรับ สังคมผู้สูงวัยที่โดดเด่นด้านสุขภาพ แต่ยังขาดการพัฒนามิติด้านที่อยู่อาศัยและสังคม ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน

ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนหนึ่ง ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ขาดการซ่อมแซมและไม่มีรูปแบบที่เหมาะสม ใช้ชีวิตได้ยากลำบากหากต้องอยู่ลำพัง

expect-ressult-1

คงจะดี หากผู้สูงอายุสามารถเลือกอยู่ที่บ้าน หรือที่อยู่อาศัยเดิมได้นานที่สุดเท่าที่ต้องการ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย

แม้ว่าจะมีสภาวะทางร่างกาย สังคมและจิตใจที่ค่อยๆ เสื่อมถอยจากความชรา

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกเชิงบวกต่อการดำรงชีวิต หากสามารถอาศัยอยู่ที่บ้านของตนเองได้ต่อเนื่อง

เพราะ ”บ้าน” คือพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย มีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ผู้สูงอายุคุ้นเคย ลดความกังวลด้านจิตใจ ส่งผลดีต่อการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคุมโรค และคุณภาพชีวิต

expect-ressult-2
expect-ressult-3

ตอบสนองการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย
ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปี

สามารถลดการพึ่งพิงสถานบริบาลที่มีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งงบประมาณภาครัฐและของผู้สูงอายุเอง

circle image

ผู้สูงอายุ 11 ล้านคน

elderly logo

บ้านพักคนชราของรัฐท้ั้งประเทศ

12 แห่ง

elderly home

ปัจจุบัน ไทยมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของรัฐเพียง 12 แห่ง
ขณะที่ประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศมีมากกว่า 11 ล้านคน**

** ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ

แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องฝ่าฟัน
เพื่อให้เกิดนโยบายที่ตอบโจทย์

ขาดการบูรณาการ ระหว่างบริการทางสุขภาพและสังคม ทั้งในด้านการวางแผน การส่งต่อทรัพยากรและข้อมูล การกำหนดมาตรฐาน และตรวจสอบคุณภาพ

อุปสรรคด้านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งอำนาจหน้าที่ และ งบประมาณ

ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน/กลไกที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดบริการสำหรับผู้สูงอายุ

ขาดบริการทางสังคมอย่างเป็นระบบ ภาคส่วนความร่วมมือ รูปแบบ และประเภทของการบริการไม่หลากหลาย

ทำอย่างไร?

เพื่อให้เกิดนโยบายที่ตอบสนองแนวคิด
Aging in Place อย่างมีคุณภาพ หลากหลาย และทั่วถึง

บ้านหรือที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม | ชุดบริการที่จำเป็นเพื่ออาศัยในถิ่นที่อยู่เดิมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ในบริบทสังคมไทย | สร้างความร่วมมือและบูรณาการระหว่างรัฐบาล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน และภาคประชาสังคม ผ่านโมเดลการทำงานรูปแบบใหม่

โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย

การพัฒนาชุดบริการสำคัญที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตในถิ่นที่เดิม (Aging in Place)

การปรับการจัดการและบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่บ้านที่เหมาะสมกับบริบทของไทย

กระบวนการหาคำตอบRISE Impact ได้จัดกระบวนการหารือเชิงนโยบาย ในประเด็นนี้ทั้งหมด 5 ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมกว่า 79 คน
- ตัวแทน อปท. จากหลายพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการให้ผู้สูงอายุ - ตัวแทนผู้ให้บริการ - ตัวแทนผู้สูงอายุ- ตัวแทนนักวิชาการ การพัฒนาชุดบริการและโมเดลการจัดการในระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการชราในถิ่นที่อยู่เดิมชวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการมาร่วมหารือสถานการณ์ ปัญหา และโอกาสในการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อหาโมเดลการจัดชุดบริการแบบใหม่ ที่เป็นการร่วมมือระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้จัดบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ รวมถึงหารือข้อเสนอเบื้องต้น ต่อหน่วยงานรัฐส่วนกลางในการสนับสนุนการจัดบริการตัวแทนจากองค์กรที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุ โดยเฉพาะงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และเป็นกลุ่มที่จะมีบทบาทต่อการปรับหรือขับเคลื่อนแนวคิด Aging in Place เชิงนโยบายได้บทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาบริการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม- หน่วยงานที่เกี่ยวกับนโยบายแลกเปลี่ยนบทบาท แนวนโยบาย และตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสังคมสูงวัย - หารือบทบาทภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดบริการสำหรับรองรับการสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม ผ่านการพิจารณาตัวอย่างการจัดบริการที่มีในปัจจุบัน เช่น บริการซ่อมแซมปรับสภาพบ้าน บริการรถรับส่ง บริการอาหารตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานราชการ (กรมกิจการผู้สูงอายุและกระทรวงมหาดไทย) นักวิชาการ และตัวแทนจากสสส.บทบาทขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในการสนับสนุนบริการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม- หารือกลไกสนับสนุนการทำงานด้านการจัดบริการสังคมให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเป็นไปได้ในการผลักดันสู่การปฏิบัติจริง เพื่อมองหาโอกาสในการนำไปปรับใช้ในพื้นที่ และนำไปประกอบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย- สร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้านการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิมได้ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ และหน่วยงานส่วนกลาง- สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดการสูงวัยในที่อยู่เดิมกับประชาชนทั่วไป- กระตุ้นให้เกิดการฉุกคิดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัยอย่างรอบด้าน- ทำความเข้าใจความต้องการบริการสำคัญยามสูงวัยในหลากหลายมิติจากมุมมองของประชาชน โดยวิเคราะห์แบบแผนเบื้องต้นของเป้าหมายกลุ่มต่างๆ เพื่อนำไปใช้สื่อสารกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดบริการทั้งภาครัฐ เอกชน- ทดลองใช้เครื่องมือ PE ในฐานะเครื่องมือช่วยวิจัยอย่างมีส่วนร่วม โดยจะนำกระบวนการจัดทำและผลลัพธ์ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนกับทีมวิจัยในโครงการ เพื่อทำให้เห็นภาพรวมหรือขอบเขต (landscape) ของความเห็นของผู้คนทั่วไปต่อชุดบริการที่จำเป็น รวมถึงร่วมกันหารือถึงโอกาสในการพัฒนา ทั้งเชิงประเด็นและเชิงเครื่องมือ มีผู้เข้ามาใช้งานทั้งสิ้น 1,052 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามจนจบ 421 คน ทีมงานจึงนำข้อมูลเฉพาะผู้ตอบแบบสอบถามจบมาใช้ในการวิเคราะห์ เป้าหมายหลักเป้าหมายรองบทบาทองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดภาวการณ์พึ่งพิงของผู้สูงอายุ ทำความเข้าใจแนวทางการดูแลผู้สูงอายุและบทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ - แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานในพื้นที่- บทบาทของท้องถิ่นในการส่งเสริมการทำให้เกิดบริการหรือความร่วมมือที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี- ตัวอย่างบริการที่เคยจัดและผลลัพธ์ความสำเร็จ- ความท้าทาย/ข้อจำกัดที่พบจากการทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความเป็นไปได้ในการพัฒนารูปแบบการบริการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โอกาสที่เห็นและความเป็นไปได้ในการนำไปดำเนินการต่อตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเลือกจากการหาข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการดำเนิน งานด้าน ผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็งหรือมีอยู่บ้าง เช่น สอบถามจากเครือข่ายการทำงานของ สสส. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และท้องถิ่นด้วยกันเองกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่มีภาวะพึ่งพิงทางสุขภาพ โดยเชิญตัวแทนผู้สูงอายุ 60-75 ปี จำนวน 9-12 คน คละรายได้ทำความเข้าใจสถานการณ์ และความต้องการบริการสนับสนุนของผู้สูงอายุ ผ่านการเชิญตัวแทนผู้สูงอายุมาร่วมสะท้อนประสบการณ์ การใช้ชีวิต ปัญหา ความต้องการเวทีพูดคุยเพื่อรับฟังและสะท้อนประสบการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทการใช้ชีวิตความต้องการของผู้สูงอายุ
ข้อสรุปจากกระบวนการจากกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เข้าร่วมอันหลากหลายสามารถเกิดข้อสรุปในเชิงเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาชุดบริการสำคัญที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้สูงอายุในการใช้ชีวิต ในถิ่นที่เดิม (Aging in Place)

  • ข้อเสนอระยะสั้น

    การจัดทำกรอบแนวคิดชุดบริการสำคัญสำหรับผู้สูงอายุในบริบทไทย

  • ข้อเสนอระยะกลาง

    ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินอุดหนุนด้านการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ

  • ข้อเสนอระยะยาว

    ผลักดันให้มีหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ในฐานะเจ้าภาพการจัดบริการทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ดาวน์โหลดข้อสรุป

การปรับการจัดการและบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่บ้านที่เหมาะสมกับบริบทของไทย

  • ข้อเสนอ 1

    ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมบทบาทการทำงานด้านผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

ดาวน์โหลดข้อสรุป

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ

Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย

  • ผู้เข้าร่วมแสดงความสนใจและอยากผลักดันต่อ

    ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่มาร่วม มีความเปิดกว้างต่อการรับแนวคิดใหม่ พยายามหาแนวทางในการพัฒนาบทบาทของหน่วยงานในการส่งเสริมงานด้านผู้สูงอายุ

  • เปิดโอกาสการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่

    ทั้งจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ รวมไปถึงญาติผู้ป่วยระยะประคับประคอง และตัวแทนระดับเขตสุขภาพ เพื่อนำไปปรับปรุง ปรับใช้กับหน่วยงาน ชุมชน หรือส่วนของตนเอง

  • เกิดพื้นที่คลายข้อสงสัยระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่น

    เปิดพื้นที่ให้ อปท. ได้มีโอกาสพูดคุยโดยตรงกับตัวแทนจากหน่วยงานนโยบาย หลายท่านสะท้อนว่าเป็นประโยชน์ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ค่อยมีโอกาสได้สื่อสารโดยตรง กระบวนการนี้ทำให้ได้รับฟังความเห็นระหว่างกันและกัน และได้คลายความสงสัยในหลายปัญหาข้อติดขัด

  • ได้ประเด็นที่สมควรศึกษาวิจัยต่อเพื่อพัฒนานโยบาย

    ได้หัวข้อสิ่งที่น่าจะนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อช่วยกำหนด กรอบนโยบายต่อไปได้ เช่น การจัดการทรัพยากรในแต่ละพื้นที่

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง

จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น

  • การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • การพัฒนาหน่วยประสาน การดูแลเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระดับจังหวัด (Care Coordination Unit - CCU)

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.