คู่มือการจัดกระบวนการ

ทีมงานต้องเตรียมงานและจัดการอย่างไร

ตั้งแต่ต้นจนจบ เราได้รวบรวมไว้แล้ว

6

สิ่งที่จะทำให้

Policy Dialogue สำเร็จ

Participants

เฟ้นหาผู้มีส่วนร่วมในแต่ละประเด็นอย่างเหมาะสม อาจมาจากหลายภาคส่วน กระจายพื้นที่ เข้าถึงผู้คนให้มากที่สุด

Content

มีข้อมูลที่หลากหลาย น่าเชื่อถือ และตรงประเด็น อาจเป็นข่าวสาร บทความวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ตั้งเป้าหมาย และหาข้อสรุป

Resources

มีแหล่งทรัพยากรที่พร้อม ตั้งแต่แหล่งข้อมูลเนื้อหา ข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงมีอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เพื่อหาคำตอบและจัดกระบวนการ

Process

มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่ปลอดภัยและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ กระบวนการควรประกอบด้วย

  • Document

    เอกสารที่อธิบายรายละเอียดวงหารือ

  • Materials

    สื่อนำเสนอที่ชัดเจน ดึงดูด ตรงประเด็น และน่าสนใจ

  • Facilitation Skills

    นำกระบวนการ ด้วยทักษะการตั้งคำถาม เพื่อให้ได้ปลายทางที่ตรงประเด็น

Team Work

การทำงานเป็นทีมที่สอดประสานกัน เพื่อรองรับ ‘ความยืดหยุ่น’ ของเนื้อหาและกระบวนการ

  • Communication skills

    สื่อสาร อัปเดตเนื้อหาและกระบวนการต่างๆ ภายในทีม เพื่อการทำงานที่ราบรื่น

  • Problem-Solving Skills

    เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งและเห็นอกเห็นใจ และสามารถตัดสินใจเร็วพอ เพื่อแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

Goals

เป้าหมายที่ชัดเจน แต่ยืดหยุ่น

  • Goal

    เป้าหมายของการจัดกระบวนการทั้งหมด

  • Objectives

    จุดประสงค์ของการจัดกระบวนในแต่ละครั้ง

  • Expected outcome

    ผลลัพธ์ที่คาดหวังของการจัดกระบวนในแต่ละครั้ง

ศึกษาค้นคว้าข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจ เรียบเรียง คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและทันเหตุการณ์

Skills Checklist
  • ทักษะการมองภาพรวม เชื่อมโยงประเด็น หรือ การคิดเชิงระบบ

  • ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล

  • ทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์

  • ทักษะการเขียน

บทบาทของทีม

ทีม RISE Impact แบ่งการทำงานเป็นทีมย่อยของแต่ละประเด็น ออกเป็น 3 บทบาท ดังนี้

ทีมจัดกระบวนการทีมประสานงานทีมเนื้อหา

จัดการอย่างไร

ให้สำเร็จ

รวบรวมปัญหาที่พบ ข้อควรคำนึงและคำแนะนำ
จากประสบการณ์ของทีม เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่น
ชวนคุยได้บรรลุเป้าหมายที่ผู้จัดตั้งใจ

Dialogue Loop

Policy Dialogue มีความจำเป็นจะต้องจัดมากกว่า 1 ครั้ง
เพื่อบรรลุเป้าหมายและสร้างการมีส่วนร่วม
และภายใต้การจัดกระบวนการหารือเชิงนโยบาย
ในแต่ละครั้งมีวิธีการดังนี้

dialogue-loop

จุดประสงค์ (Objectives) ของกระบวนการหารือเชิงนโยบายแต่ละครั้ง

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Expected outcomes) ของกระบวนการหารือเชิงนโยบายแต่ละครั้ง

เป้าหมาย (Goal) หรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของแต่ละหัวข้อ

ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้

expect-ressult-1

เนื้อหาที่ได้

  • ข้อมูลเชิงลึก

    จากผู้เข้าร่วม จุดร่วมของปัญหา อุปสรรคและช่องโหว่ของประเด็นนั้นๆ

  • ความคิดเห็น

    ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมที่หลากหลาย ไปจนถึงข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากวง

ช่วยในการขับเคลื่อนนโยบาย

  • สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้คน

    ภาคส่วนต่างๆ เข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนนโยบาย หรือออกแบบการแก้ไขปัญหาในอนาคต สร้างความเข้าใจ หาจุดร่วม และแลกเปลี่ยนความต่าง อาจทำให้เกิดทางเลือกใหม่จากภาพที่ชัดขึ้น

  • โอกาสในการผลักดันต่อ

    ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่นำไปใช้ในพื้นที่ได้รับฟังกันและกัน สามารถเติมเต็มและเพิ่มโอกาสผลักดันนโยบายร่วมกันต่อได้

  • การสื่อสารในวงกว้าง

    เป็นอีกกระบอกเสียง แสดงพลังความต้องการและร่วมผลักดันนโยบาย

expect-ressult-2
expect-ressult-3

ตอบสนองการพัฒนา

  • ลดช่องว่างระหว่างตำแหน่งงาน

    เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้กำหนดใช้นโยบายและผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ลดช่องว่างระหว่างกัน

  • เปลี่ยน-ปรับโจทย์ได้อย่างเหมาะสม

    มีความยืดหยุ่นในการทบทวนสมมติฐานและตีโจทย์ เพื่อเลือกโจทย์ที่สามารถตอบสนองต่อบริบทที่เหมาะสมที่สุด

  • เกิดการแบ่งปันทรัพยากร

    ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในพื้นที่อื่น เกิดการผลักดันและสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานต่อ

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.